วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กระถิ่นรักษาสารพัด



กระถิน








หลายคนคงไม่คิดว่ากระถินที่เราๆท่านๆรับประทานกันนั้น จะมีประโยชน์มากมาย นอกจากประโยชน์ที่จะได้รับแล้ว กระถินยังสามารถใช้รักษา และ ป้องกันโรคได้อีกด้วย
ดังนั้นคอร์สล้างพิษตับชมรมล้างพิษพิชิตโรคจึงได้นำความรู้เกี่ยวกับกระถินที่น่าสนใจมาฝากทุกท่าน เผื่อว่าวันหนึ่งเราอาจจะหยิบอาหารง่ายๆมาเป็นยาในการป้องกันโรคต่างๆก่อนป่วยก็ได้ครับ เรามาดูกันเลยครับว่ากระถินมีสรรพคุณอย่างไรบ้าง ? ? ?
@ ส ร ร พ คุ ณ @
* ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ( ราก เมล็ดแก่ )
* กระถินมีฟอสฟอรัสสูง จึงช่วยเสริมสร้างและบำรุงกระดูก (ยอดอ่อน,ฝักอ่อน,เมล็ด)
* ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ยอดอ่อน)
* ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ยอดอ่อน)
* กระถินอุดมไปด้วยวิตามินเอ จึงช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้ (ยอดอ่อน)
* ช่วยบำรุงหัวใจ (ฝักอ่อน,ยอดอ่อน)
* ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (เมล็ดแก่)
* ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ฝักอ่อน,ยอดอ่อน)
* ช่วยแก้อาอาการร้อนในกระหายน้ำ (ฝักอ่อน,ยอดอ่อน)
* ช่วยแก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา (ดอก)
* ช่วยแก้อาการท้องร่วง (ฝัก)
* เมล็ดกระถิน สรรพคุณใช้เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม (Ascariasis) สำหรับผู้ใหญ่ให้ใช้ครั้งละ 25-50 กรัม ส่วนเด็กให้ใช้ 5-20 กรัม ต่อวัน โดยใช้รับประทานในช่วงตอนท้องว่างในตอนเช้าประมาณ 
* ดอกกระถิน สรรพคุณช่วยบำรุงตับ (ดอก)
* ช่วยบำรุงไตและตับ (เมล็ดแก่)
* ฝักกระถินเป็นยาฝาดสมาน ใช้ห้ามเลือด (ฝัก,เปลือก)
@ ฤ ท ธิ์ ท า ง ย า @
* ผลเมล็ดมีฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยลดไขมันในเลือดของหนูขาว แต่เมล็ดมีสารสารลิวซีนีน (Leucenine) ซึ่งจะทำให้สัตว์เป็นหมันได้
* สารสกัดจากใบกระถินเมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดของสุนัข จะทำให้มีระดับความดันโลหิตลดลง มีอัตราการเต้นของหัวใจช้าลง ช่วยกระตุ้นการหายใจ
* มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต แต่ฤทธิ์ดังกล่าวนี้สามารถต้านได้ด้วย Atropine และยาต้านฮิสตามีน และเมื่อนำน้ำยาสกัดกระถินมาใช้กับหัวใจของกบและเต่าที่แยกออกมา พบว่ามีอัตราการบีบของหัวใจลดลง และในระบบทางเดินอาหารทั้งการทดลองแบบ in vitro ก็พบว่าน้ำสกัดนี้ทำให้เกิดแรงตึงตัวและเกิดแรงบีบตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเมื่อทดลองใน in vivo จะพบว่าการบีบตัวของกระเพาะลำไส้ตามปกติลดลง
ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกมีรสมัน เมล็ดอ่อนมีรสมันอมหวานเล็กน้อย รากมีรสจืดเฝื่อน ส่วนเปลือกมีรสฝาด
@ ป ร ะ โ ย ช น์ ข อ ง ก ร ะ ถิ น @
ยอดอ่อนกระถิน ฝักอ่อน และเมล็ดใช้รับประทานเป็นผักได้ โดยยอดใบจะใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก ส้มตำ หรือยำหอยนางรม
ส่วนเมล็ดอ่อนชาวอีสานใช้ผสมในส้มตำมะละกอหรือรับประทานกับส้มตำ ส่วนชาวใต้ใช้เมล็ดอ่อน และใบอ่อนรับประทานร่วมกับหอยนางรม
ใบ ยอด ฝัก และเมล็ดอ่อนสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ แพะ แกะ ฯลฯ
ใบกระถินอุดมไปด้วยธาตุไรโตเจนและเกลือโพแทสเซียม สามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยหมักได้
เมล็ดสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้หลายชนิด เช่น เข็มกลัด สายสร้อย เข็มขัด ฯลฯ
ลำต้นหรือเนื้อไม้กระถินสามารถนำมาใช้ทำด้ามอุปกรณ์เครื่องมือทางการเกษตร ทำฟืน เผาทำถ่าน และได้น้ำส้มควันไม้
เปลือกต้นกระถินให้เส้นใยที่สามารถนำไปใช้ทำเป็นกระดาษได้ แต่มีคุณภาพไม่ดีนึก
ประโยชน์กระถิน เปลือกต้นกระถินสามารถนำมาใช้ย้อมสีเส้นไหมได้ โดยเปลือกต้นแห้ง 3 กิโลกรัม จะสามารถย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม โดยจะให้สีน้ำตาล
สายพันธุ์กระถินที่ทำการปรับใหม่จะมีขนาดลำต้นสูงกว่าสายพันธุ์ หรือที่เรียกว่า “กระถินยักษ์” ใช้ปลูกเพื่อเป็นแนวรั้วบ้าน แนวกันลม และช่วงบังแสงแดดให้แก่พืชที่ปลูกได้ เหมาะในพื้นที่ที่มีการดูแลรักษาต่ำ และต้นกระถินยังมีความแข็งแรงเจริญเติบโตได้เร็ว
ตามคติความเชื่อในตำราพรหมชาติฉบับหลวงกล่าวว่า กระถินเป็นไม้มงคลที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยนำมาปลูกร่วมกับต้นสารภี มีความเชื่อว่าจะช่วยป้องกันเสนียดจัญไรต่างๆ ได้
@ โ ท ษ ข อ ง ก ร ะ ถิ น @
เนื่องจากใบของกระถินมีสารที่เป็นพิษคือสารลิวซีนีน (Leucenine) หากสัตว์กระเพาะเดียวกินใบกระถินในปริมาณสูงอาจทำให้ขนร่วงและเป็นหมันได้
แต่ยังไม่มีรายงานความเป็นพิษเนื่องจากการกินกระถินในคน และยังมีรายงานว่ากระถินเป็นพืชที่มีคุณสมบัติช่วยดูดธาตุซีลีเนียมจากดินมาสะสมไว้ได้มาก จึงอาจทำให้เกิดพิษเนื่องจากธาตุนี้ได้



ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก fb:นพดล อุ่นตา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น